วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การถ่ายทอดเสียง (Transcription)

        หลังจากที่ได้ทำการตกลงกันแล้วว่าสัญลักษณ์นี้แทนเสียงนี้ สัญลักษณ์นั้นแทนเสียงนั้น ขั้นต่อไปก็จะเป็นการถ่ายถอดเสียงเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการศึกษา เพื่อการจดบันทึกทางภาษา เพื่อความบันเทิง หรือจะเป็นเพื่อการรักษา เป็นต้น ทั้งนี้จะถ่ายถอดออกมาในรูปแบบใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การนำไปศึกษาหรือใช้ประโยชน์ 

การถ่ายทอดเสียง (Transcription) หมายถึงการบันทึกหรือการถ่ายทอดเสียง โดยใช้ Phonetic Notation หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษเรียกว่าการ transcribe ออกเป็น phonetic transcription
การถ่ายถอดเสียงแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามแนวคิดของ Henry Sweet และ David Abercrombie ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้
  1. Phonetic Transcription หมายถึงการบันทึกเสียงพูดด้วยสัญลักษณ์อย่างละเอียดหรือเป็นการบันทึกระดับสัทศาสตร์ บันทึกเสียงทุกเสียงที่หูเราจับได้ไม่ว่าเสียงนั้นจะมีรายละเอียดปลีกย่อยอย่างไร ต้องแสดงให้ครบใน transcription ของเรา เช่น ภาพ [pʰâ:p̚ราบ [râ:p̚] โดยส่วนใหญ่การถ่ายถอดประเภทนี้จะใช้เมื่อต้องการจดบันทึกเสียงในภาษาซึ่งยังไม่มีใครศึกษามาก่อน  และจดบันทึกภาษาซึ่งยังไม่มีใครสามารถจะให้รายละเอียดในเรื่องโครงสร้าง ระบบหรือกฏเกณฑ์ที่แน่นอนในภาษานั้นๆ เช่น ภาษาเด็ก ภาษาคนหูหนวก ภาษาของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการพูด ภาษาคนเมาสุรา เป็นต้น Henry Sweet การถ่ายถอดชนิดนี้ว่า Narrow Transcription และ David Abercrombie เรียกว่า Impressionistic Transcription
  2. Phonemic Transcription คือการจดบันทึกเสียงในภาษาแบบหยาบๆ ทั้งนี้จะบันทึกเฉพาะเสียงที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำ คือเราจะบันทึกเฉพาะเสียงสำคัญคือ หน่วยเสียง (phoneme) เท่านั้น การบันทึกแบบนี้เรามักจะบันทึกปรากฏการณ์ทางภาษาของภาษาที่มีผู้ศึกษาระบบเสียงไว้แล้ว เสียงที่ได้มาก็คือ phoneme ของภาษานั้นๆ เราก็จะนำเอาหน่วยเสียงที่เขาได้วิเคราะห์แล้วเหล่านั้นมาเป็นกุญแจในการศึกษาสิ่งอื่นๆ ในภาษานั้นๆ ต่อไป Henry Sweet การถ่ายถอดชนิดนี้ว่า Broad Transcription  และ David Abercrombie เรียกว่า Systematic Transcription
การที่มีการถ่ายถอดเสียงนั้นเหตุผลหนึ่งคือ เนื่องจากตัวอักษรบางตัวในบางภาษานั้นสามารถออกเสียงหลายแบบ หรือมีหลายเสียงในตัวอักษรเดียว ตัวอย่างภาษาที่แสดงให้เราเห็นชัดๆก็คือ ภาษาอังกฤษ ที่นอกจากมีลักษณะเช่นนั้นแล้ว สำเนียงและภาษาท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ๆใช้ภาษาอังกฤษก็มีการออกเสียงต่างกัน เช่น British English และ American English ซึ่งเป็นสำเนียงที่เราคุ้นเคยกัน มีการถ่ายถอดเสียง เพื่อบันทึกและแสดงความเป็นอัตลักษณ์ของตน 

ต่อไปเรามาฟัง Brizzy เล่านิทานของ Dr. Seuss ภาษาอังกฤษสำเนียงต่างๆถึง 68 สำเนียง จะมีสำเนียงไทยมั้ยนั้น เราก็ต้องไปลองฟังกันค่ะ จะลอง transcribe ดูก็ได้น่ะ


  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น